มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มีพื้นที่ในความรับผิดชอบทั้งหมด 4 พื้นที่ด้วยกัน รวมเนื้อที่
จำนวนทั้งสิ้น 3,800 ไร่ 2 งาน 92.5 ตารางวา
1. พื้นที่ในเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัด
กาฬสินธุ์ เนื้อที่ 439 ไร่ 1 งาน 65.90 ตารางวา
2. พื้นที่นามน ตั้งอยู่ที่บ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ มี
เนื้อที่ 2,119 ไร่ 30.8 ตารางวา
3. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูสิงห์ ตั้งอยู่ที่ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
เนื้อที่ 1,155 ไร่
4. พื้นที่ในเขตอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ 7 ไร่ 95.8 ตารางวา
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86ก เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ให้รวม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ตามกฎหมายว่าด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมาจัดตั้งเป็น“มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์” มีฐานะเป็นนิติ บุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งการควบรวมมหาวิทยาลัยทั้งสอง แห่งนี้เป็นการปรับปรุงการดำเนินการและลดความซ้ำซ้อนสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ใน จังหวัดเดียวกัน โดยให้บทบาทหน้าที่ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย กาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558
ว่าด้วย “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางวิชาการที่ให้ความรู้และความชำนาญในการปฏิบัติที่ เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและส่งเสริมงานวิจัย เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ ความรู้และเทคโนโลยี ให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่นและสังคม ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน ทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการกีฬา รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมของรัฐและท้องถิ่น และการมีส่วนร่วม ในการพัฒนา ชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ประวัติความเป็นมาทั้งสองสถาบันอุดมศึกษาที่มาควบรวมเป็น “มหาวิทยาลัย กาฬสินธุ์”
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
"ผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สามารถปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความสามารถในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม"
คณะบริหารศาสตร์
"ผลิตบุคลากรที่มีทักษะในด้านการบริหารจัดการ
สามารถทำงานในองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
โดยมีความเข้าใจในกระบวนการบริหารและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว"
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีการเกษตร
สามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมภาคการเกษตรในท้องถิ่นและระดับชาติ
รวมถึงการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คณะศิลปศาสตร์
"ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ
และทักษะที่เหมาะสมกับความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางวิชาการในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่นผ่านการใช้ความรู้ทางศิลปศาสตร์คณะศิลปศาสตร์มุ่งเน้นการสร้างนักศึกษาที่มีทักษะที่หลากหลาย
ทั้งในด้านภาษา การสื่อสาร และการวิเคราะห์ทางสังคม
โดยให้นักศึกษามีความพร้อมในการทำงานและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม"
คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา
"ผลิตบัณฑิตครูที่มีความรู้ ความสามารถ
และจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมที่จะเป็นผู้นำทางการศึกษาในระดับต่าง ๆ
สร้างนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีการสอนใหม่ ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในด้านการศึกษา และสร้างความร่วมมือกับชุมชนและสถาบันการศึกษาอื่น ๆ
เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้ยั่งยืน"
การวิจัย
พื้นที่นี้ใช้สำหรับการศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ป่าไม้
และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาและนักวิจัยในการศึกษาระบบนิเวศและการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น
การฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ใช้พื้นที่นี้ในการจัดการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
การเกษตรที่ยั่งยืน และการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการจัดโปรแกรมฝึกอบรมทั้งสำหรับนักศึกษาและชุมชนในพื้นที่
การส่งเสริมการเรียนรู้ท้องถิ่น
พื้นที่วิจัยและฝึกอบรมภูสิงห์ยังทำหน้าที่ในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น
โดยมีการจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่เน้นการส่งเสริมการอนุรักษ์และการพัฒนาที่ยั่งยืนในท้องถิ่น
๙ ปี ของการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน
9 Years of Local Development in Pursuit of Sustainability
“มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอันดับ ๑ ภายในปี ๒๕๗๐”